พายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554

พายุโซนร้อนแอรี

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา6 – 12 พฤษภาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
992 mbar (hPa; 29.29 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เบเบง

พายุไต้ฝุ่นซงด่า

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา19 – 29 พฤษภาคม
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
920 mbar (hPa; 27.17 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เชเดง

พายุโซนร้อนซาเระกา

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 11 มิถุนายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): โดโดง

วันที่ 8 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของเกาะเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากนั้นทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้เริ่มเฝ้าติดตามระบบนี้

พายุโซนร้อนไหหม่า

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 25 มิถุนายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เอไก

วันที่ 15 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ตรวจพบการพาความร้อนของอากาศเหนือทะเล ห่างจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 1,350 กิโลเมตร (835 ไมล์)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเมอารี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา20 – 27 มิถุนายน
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
975 mbar (hPa; 28.79 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ฟัลโกน

เช้าวันที่ 20 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมและกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ตรวจพบหย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อตัวขึ้นห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ไปทางตะวันออกประมาณ 760 กิโลเมตร

พายุไต้ฝุ่นหมาอ๊อน

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
935 mbar (hPa; 27.61 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): อีเนง

พายุหมาอ๊อนก่อตัวบริเวณเกาะเวก ในวันที่ 9 กรกฎาคม[12]

พายุโซนร้อนโทกาเงะ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 15 กรกฎาคม
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ฮันนา

พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา24 – 31 กรกฎาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ฮัวนิง
ดูบทความหลักที่: พายุโซนร้อนนกเต็น (พ.ศ. 2554)

วันที่ 22 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์[13] โดยระบบค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เริ่มเฝ้าสังเกตการณ์ระบบ และปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[14] ในวันถัดมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับความรุนแรงระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นเดียวกัน[15] และอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ก็ได้เริ่มสังเกตการณ์พายุดีเปรสชันเขตร้อน และใช้ชื่อ ฮัวนิง (Juaning)[16][17] ต่อมาพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุด กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อว่า นกเต็น

พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา27 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
930 mbar (hPa; 27.46 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): กาบายัน

วันที่ 23 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะชุกในหมู่เกาะไมโครนีเซีย[18] หย่อมความกดอากาศต่ำค่อย ๆ เคลื่อนไปทางทิศตะวันตก ต่อมาในวันที่ 25 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับระดับความรุนแรงระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่มันอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของเกาะกวมประมาณ 505 ไมล์ทะเล (935 กิโลเมตร; 581 ไมล์)[19] ต่อมาในเวลาเที่ยงคืน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มเฝ้าสังเกตการณ์และปรับระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[20] วันที่ 28 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงพายุดีเปรสชันเขตร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อน[21] ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนเช่นเดียวกัน และใช้ชื่อ หมุ่ยฟ้า กับระบบ[22]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเมอร์บก

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
980 mbar (hPa; 28.94 inHg)

ช่วงวันที่ 3 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับเกาะเวก[23] มันได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เพียง 6 ชั่วโมงต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ เมอร์บก กับระบบ[24]

พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา21 – 31 สิงหาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
925 mbar (hPa; 27.32 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): มีนา

วันที่ 19 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้ยและพัฒนาอยู่ทางตอนเหนือของเกาะปาเลา[25] ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคมระบบได้พัฒนาขึ้นและมีการหมุนเวียนลมเข้าหาศูนย์กลางเกิดขึ้น[26] โดยหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนตัวไปทางเหนือจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม จนเมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ประกาศยกระดับระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในขณะที่มันอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์[27] โดยระหว่างนั้นในวันที่ 20 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสเรียก 14W กับระบบ[28] ต่อมาในวันที่ 23 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ นันมาดอล กับระบบ[29] ในคืนเดียวกันนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงของนันมาดอลเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[30] โดยมีรายงานการสังเกตลักษณะคล้ายตาพายุปรากฏขึ้นในพายุ[31] เป็นผลให้นันมาดอลถูกปรับระดับความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นในคืนเดียวกันนั้นเอง[32] พายุนันมาดอลเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยความเร็วลมประมาณ 95 นอต (176 กม./ชม.; 109 ไมล์/ชม.)[33] ในวันที่ 31 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับลดระดับความรุนแรงของนันมาดอลลง เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนขณะที่มันปกคลุมอยู่เหนือมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน[34][35]

พายุโซนร้อนกำลังแรงตาลัส

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา23 สิงหาคม – 5 กันยนยน
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
970 mbar (hPa; 28.64 inHg)

วันที่ 22 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวและพัฒนาขึ้นทางทิศตะวันตกของเกาะกวม[36] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มสังเกตการณ์และเฝ้าติดตามระบบ ขณะที่มันกำลังพัฒนาตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ต่อมาในวันที่ 25 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้พัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ใช้ชื่อ ตาลัส กับระบบ[37] ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงของตาลัสเป็นพายุไต้ฝุ่น[38] จนวันที่ 5 กันยายน ตาลัสได้อ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุดขณะที่ปกคลุมอยู่ในทะเลตะวันออก[39][40]

จากการวิเคราะห์ภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 2557 กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงของระบบลงเป็นเพียงพายุโซนร้อนกำลังแรงเท่านั้น

พายุโซนร้อนโนรู

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา2 – 6 กันยายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)

วันที่ 1 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม[41] จนในวันต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มเฝ้าติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำลูกนั้น[42] ต่อมาได้มีการตรวจพบการพาความร้อนอย่างรวดเร็วขึ้น ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกประกาศเตือนพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[43] วันที่ 3 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสเรียก "16W" กับพายุลูกนี้[44] ต่อมาพายุ 16W ได้เร่งความเร็วการเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือด้วยความเร็ว 18 นอต (33 กม./ชม.; 21 ไมล์/ชม.) และความเร็วลม 40 นอต (74 กม./ชม.; 46 ไมล์/ชม.) ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อน[45] ต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และใช้ชื่อ โนรู กับระบบ[46] หลังจากนั้นโนรูเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือเรื่อย ๆ กระทั่งมันค่อย ๆ ลดระดับความรุนแรงลง จนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ได้ปรับลดความรุนแรงของโนรูลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[47] วันที่ 6 กันยายน โนรูได้ลดระดับความรุนแรงลงอีกและกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ทางตะวันออกเฉียงใต้เฉตะวันออกของเกาะฮกไกโด ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้ออกประกาศเตือนภัยพายุเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่มันจะสลายตัวไป[48]

พายุโซนร้อนกุหลาบ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา6 – 11 กันยายน
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): โนโนย

วันที่ 6 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงหย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น[49] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[50] ในวันที่ 7 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ กุหลาบ กับระบบ ต่อมาในวันที่ 8 กันยายน กุหลาบเดินทางเข้าไปในเขตรับผิดชอบของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ทางสำนักงานจึงได้ทำการสังเกตการณ์และใช้ชื่อ โนโนย (Nonoy) กับระบบ[51] วันที่ 10 กันยายน กุหลาบได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นโรคี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 22 กันยายน
ความรุนแรง155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
940 mbar (hPa; 27.76 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): โอนโยก

พายุไต้ฝุ่นเซินกา

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา14 – 20 กันยายน
ความรุนแรง130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
970 mbar (hPa; 28.64 inHg)

พายุไต้ฝุ่นเนสาท

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา23 – 30 กันยายน
ความรุนแรง150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
950 mbar (hPa; 28.05 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เปดริง

วันที่ 21 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำต่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้เฉตะวันออกของปาเลา[52] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) จึงได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุไซโคลนเขตร้อน (TCFA) กับระบบ[53] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ก็ได้เริ่มสังเกตการณ์พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้เช่นกัน[54] วันที่ 23 กันยายนระบบเริ่มพัฒนาขึ้น JTWC จึงได้ใช้รหัสเรียก 20W กับระบบ[55] เวลาเที่ยงคืน JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของ 20W เป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ เนสาท กับระบบ[56] ต่อมา JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนเนสาด เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันที่ 25 กันยายน[57] ในเวลาต่อมาไม่นาน JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของเนสาท เป็นพายุไต้ฝุ่น[58] เนสาทได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับสูงสุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ด้วยความเร็วลมเฉลี่ยลม 1 นาที ที่ความเร็ว 105 นอต หรือ 194 กม./ชม. หรือ 121 ไมล์/ชม.[59] ในวันที่ 29 กันยายน เนสาทได้พัดขึ้นฝั่งที่เมืองเหวินชางในเกาะไหหลำของจีน

พายุโซนร้อนไห่ถาง

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา24 – 27 กันยายน
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)

ตอนเย็นของวันที่ 21 กันยายน ในเวลาอันใกล้เคียงกับที่พายุเนสาทก่อตัวชึ้น ยังมีหย่อมความกดอากาศต่ำอีกลูกก่อตัวบริเวณทางตะวันออกของประเทศเวียดนาม[52] ระบบได้พัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 24 กันยายน และเคลื่อนตัวไปทางของภาคตะวันออกของประเทศเวียดนาม[60] ในวันต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ และระบุว่ามันอาจทวีกำลังขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้[61]ต่อมาวันที่ 25 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับระดับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ ไห่ถาง กับระบบ หลังจากนั้น ไห่ถางได้พัดขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามและอ่อนกำลังลงตามลำดับ

พายุไต้ฝุ่นนัลแก

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา26 กันยายน – 5 ตุลาคม
ความรุนแรง175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
935 mbar (hPa; 27.61 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): กีเยล

ช่วงสายของวันที่ 26 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้รายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ต่อมาช่วงสายของวันที่ 27 กันยายน JMA ได้ทำการเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้เป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ นัลแก กับระบบ[62] ในวันที่ 28 กันยายน JMA ปรับระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนนัลแกขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงนัลแก โดยมีความเร็วลมสูงสุดที่ศูนย์กลาง 55 นอต (102 กม./ชม.; 63 ไมล์/ชม.)[63] ต่อมาในตอนกลางคืน สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้เริ่มออกประกาศเตือนภัยพายุ โดยกำหนดชื่อให้พายุว่า กีเยล (Quiel) เนื่องจากพายุได้เคลื่อนตัวเข้าไปในพื้นที่รับชอบของสำนักงานฯ[64] ต่อมาวันที่ 29 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงพายุโซนร้อนกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นนัลแก โดยพายุไต้ฝุ่นนัลแกได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีความรุนแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ในวันที่ 1 ตุลาคม ก่อนที่พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นนัลแก จะพัดขึ้นฝั่งที่เกาะลูซอน และสูญเสียพลังงานหลังจากเคลื่อนตัวผ่านบนแผ่นดิน และอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้นในทะเลจีนใต้ ทำให้นัลแกได้ลดความรุนแรงลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันที่ 2 ตุลาคม และเป็นพายุโซนร้อนในช่วงสายของวันที่ 3 ตุลาคม ต่อมา JTWC ได้ลดระดับความรุนแรงของนัลแกเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 4 ตุลาคม

พายุโซนร้อนบันยัน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ราโมน

พายุโซนร้อนวาชิ

ดูบทความหลักที่: พายุโซนร้อนวาชิ
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 19 ธันวาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
992 mbar (hPa; 29.29 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เซนโดง

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://blackteacentral.com/nalgae-leaves-18-dead-i... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-...